วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

วัน เสาร์ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557


 " การเรียนวันนี้อาจารย์สอนเขียนเเผนการจัดประสบการณ์" 

         การเขียนเเผนการจัดประสบการณ์หรือการเขียนเเผนการสอนนั้น ต้องควรสอนให้ตรงเนื้อหาสาระในสิ่งที่จะสอน มีวิธีการนำเนื้อหาความรู้ไปสู่เด็ก เเละควรให้เด็กเป็นศูนย์กลางในการเลือกเเละตัดสินใจในสิ่งที่เด็กสนใจอยากจะเรียนรู้ โดยการผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า สิ่งเหล่านี้จะเป็นประสบการณ์ใหม่ ความรู้ใหม่ ที่มีการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงให้เด็กได้พัฒนาการทั้ง4ด้าน โดยครูมีหน้าที่คอยอบรมเลี้ยงดูเด็ก คอยช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกให้เด็ก เช่น หาสื่อุปกรณ์มาให้เด็กเรียนรู้และสังเกต อาจเป็นของจริงหรือของจำลอง การเขียนเเผนการสอนหรือการจัดประสบการณ์ เราสามารถบูรณาการในวิชาอื่นๆได้ เช่น
ด้านคณิตศาสตร์ >>  การนับและบอกจำนวน การใช้สัญลักษณ์  การเเทนค่าตัวเลข
ด้านภาษา >> การสนทนาโต้ตอบ เช่น บอกชนิดของข้าว จะได้เรื่องการพูด การฟัง  การวาดรูปเกี่ยวกับข้าวเป็นการสื่อความคิดและจินตนาการของมาเป็นผลงานหรือภาพ การอ่านจากภาพ การบอกเล่าเรื่องราวจากภาพ การร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง และการเล่านิทาน
ด้านวิทยาศาสตร์ >> การสังเกตควบคู่กับการบอกชนิดของชื่อเเละรูปร่าง การเปรียบเทียบ เป็นต้น

 Mind Map หน่วยเรื่อง ข้าว (Rice) 




 ตัวอย่างเเผนการสอนเรื่อง "ชนิดของข้าว" 




  ขั้นนำ >>การนำเด็กเข้าสู่บทเรียน โดยการร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง การเล่านิทาน การเล่นเกมปริศนาคำทาย เช่น ครูกับเด็กร่วมกันร้องเพลงข้าว เเละทำท่าทางประกอบตามจินตนาการเเละความคิดสร้างสรรค์

  ขั้นสอน >>  การใช้คำถามเพื่อทบทวนความจำของเด็ก และกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เกิดการสังเกต เกิดการเปรียบเทียบความเหมือนความต่างของชนิดข้าว โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า หรือประสบการณ์ต่างๆที่เด็กได้รับ เช่น ครูนำข้าวมาเป็นสื่อให้เด็กได้สังเกตชนิดของข้าวเเต่ละชนิดด้วยตาเปล่าหรือการใช้เเว่นขยาย และครูให้เด็กถ่ายทอดผลงานจากการวาดภาพข้าวตามจินตนาการของเด็ก

 ขั้นสรุป >> การสรุปเนื้อหาความรู้และรวบรวมข้อมูลต่างๆของเด็กจากสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ โดยการนำเสนอเป็นกราฟิกอย่างง่าย เช่น ครูและเด็กช่วยกันสรุปความรู้  โดยการใช้กราฟิกในการนำเสนอ

  กิจกรรมเสรี คือ การให้เด็กได้เลือกเล่นตามมุมอย่างอิสระ




  Teaching 

  • ทักษะการคิดบูรณาการกับวิชาอื่นๆ
  • ทักษะการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้อง
  • การใช้คำถาม เพื่อทบทวนความจำของเด็ก
  • ทักษะการเชื่อมโยงความคิด
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการใช้สัญลักษณ์เเทนจำนวนหรือตัวเลข
  • ทักษะการเรียนรู้การทำกราฟิกอย่างง่าย เช่น การทำMind Map การทำตารางเปรียบเทียบ
  • เทคนิควิธีการนำเด็กเข้าสู่บทเรียน
  • การจัดระบบเนื้อหาการเรียนการสอนในเเต่ละวัน
  • ทักษะการคิดหน่วยการสอนในเเต่ละสัปดาห์
  Application 
  • การเรียนรู้วิธีการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้อง
  • การเขียนเเผนการสอนที่สามารถเชื่อมโยงความรู้ความคิดหรือทักษะต่างๆ
  •  การเขียนเเผนการสอนที่บูรณาการเข้ากับวิชาอื่นๆ
  •  การเขียนเเผนการสอนให้เด็กได้รับประสบการณ์หรือเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์
  •  การเขียนเเผนการสอนให้เด็กเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ในเรื่องความคิดเชิงเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์
  •  เด็กได้เรียนรู้ในเรื่อง การสังเกต การเปรียบเทียบ การใช้สัญลักษณ์ การจำเเนก เป็นต้น
 Evaluation 
  • ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายการเขียนเเแผนการสอนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม การคิดวิเคราะห์ การบูรณาการกับวิชาอื่นๆ  พร้อมกับจดบันทึกเนื้อหาและเทคนิควิธีการสอนการเขียนแผนที่ถูกต้องและรอบคอบ
  • ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา ( มีเพื่อนไม่มาบ้างเล็กน้อย) เเต่งกายถูกระเบียบ  เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการฟังอาจารย์อธิบายวิธีการเขียนเเผนการสอนที่ถูกต้อง เเละช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์
  • ประเมินอาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพ  มีเทคนิควิธีการสอนการเขียนเเผนการสอน โดยการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ ได้เเสดงความคิดเห็น และยกตัวอย่างอธิบายเนื้อหารายละเอียดที่ชัดเจน เข้าใจมากขึ้น และเขียนเเผนการจัดประสบการณ์ที่มีการเชื่อมโยงความรู้ความคิดทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น