บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 10
วัน พฤหัสบดี ที่ 30 ตุลาคม พ. ศ. 2557
เนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้
สาระที่ควรเรียนรู้
- ธรรมชาติรอบตัว
- บุคคล และสถานที่
- สิ่งต่างๆรอบตัว
- สิ่งที่เกี่ยวกับตนเอง
ประสบการณ์สำคัญ
ทำให้เกิดการเรียนรู้ เพราะประสบการณ์เป้นการลงมือกระทำแล้วเกิดการรับรู้ เชื่่อมโยงประสบการณ์เดิม ปรับเป็นประสบการณ์ใหม่ เกิดการปรับตัวให้ดำรงอยู่รอด
ทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ดูจากกรอบมาตรฐานวิทยาศาสตร์
กระบวนการทดลองวิทยาศาสตร์ >>กำหนดปัญหา
>>ตั้งสมมติฐาน
>> ทดลอง และสังเกต
การทดลองวิทยาศาสตร์
การทดลองที่ 1 กิจกรรม " ปั้นหนูให้กลมๆ "
ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปกลมๆ เเล้วนำดินน้ำมันที่ปั้นเป็นวงกลมเเล้วนำลงไปใส่ในโหลน้ำที่เตรียมไว้
สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น คือ ดินน้ำมันจะจมลงไปในน้ำ เพราะรูปทรงกลมมีน้ำหนักมากจึงจมลงไปในน้ำอย่างรวดเร็ว
การทดลองที่ 2 กิจกกรรม "เรือน้อยลอยๆจมๆ"
ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงต่างๆตามจินตนาการ เช่น รูปถ้วยหรือรูปเรือ ที่มีความบางไม่หนาจนเกินไป แล้วนำลงไปใส่ในโหลน้ำ สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น ดินน้ำมันจะลอยน้ำ เพราะมีความบางเเละน้ำหนักเบา
ภาพเรือที่ปั้นด้วยดินน้ำมันที่จะนำไปลอยน้ำ |
นำกระดาษA4 มาพับครึ่งกระดาษ แล้วตัดกระดาษให้เป็นรูปดอกไม้ ตกเเต่งให้สวยงาม จากนั้นพับกลีบดอกไม้เข้าข้างใน เเล้วนำลงไปใส่ในโหลน้ำ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ กลีบดอกไม้จะค่อยๆบานออก
ภาพดอกไม้ที่ทำจากกระดาษร้อยปอนด์จะดูดซึมช้า ดอกก็จะบานออกได้อย่างช้าๆ |
ภาพดอกไม้ที่ทำจากกระดาษ จะดูดซึมได้เร็ว แล้วบานออกได้อย่างรวดเร็ว |
สรุป >> เกิดจากการดูดซึมของน้ำ ถ้าเราใช้กระดาษร้อยปอนด์น้ำจะดุดซึมได้ช้า แล้วดอกไม้ที่ทำจากกระดาษร้อยปอนด์จะบานออกได้ช้าๆ เเต่ถ้าเราใช้กระดาษ A4 น้ำจะดูดซึมได้เร็ว จึงทำให้ดอกที่ทำจากกระดาษ A4 บานออกได้เร็วกว่าดอกไม้ที่ทำจากกระดาษร้อยปอนด์
ภาพนี่้คือ ดอกไม้ที่ตกเเต่งระบายสีให้สวยงาม เเล้วนำมาวางในน้ำ น้ำเกิดการดูดซึม สีที่อยู่ในดอกไม้เกิดการละลายผสมกันเป็นสีต่างๆที่เห็นกัน |
การทดลองที่ 4 กิจกรรม ."น้ำไหลต่างระดับ"
นำขวดน้ำมาเจาะรู 3 รู ตามเเนวตั้งของขวด เเล้วปิดเทปไว้ทั้ง3รู จากนั้นเทน้ำลงไปในขวดแล้วปิดฝาขวด
การทดสอบ1 เปิดเทปรูที่1 (รูด้านบน) สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น คือ น้ำจะไม่ไหลออกมา เเต่ลองเปิดฝาขวดน้ำออก น้ำก็จะไหลออกมาค่อยๆเเต่ไม่เเรง เพราะมีเเรงดันอากาศเปิดเทปออกเเล้วน้ำจะไม่ไหลออกมา
การทดสอบ 2 เปิดเทปรูที่ 2 (รูตรงกลาง) สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น คือ น้ำจะไหลออกมาเเรงกว่ารูที่ 1 ถึงจะปิดฝาขวดเเล้วก็ตาม ( เเต่ถ้าไม่อยากให้น้ำรูที่2ไหลให้เอามือไปปิดที่ 1ไว้น้ำก็จะไม่ไหล) ซึ่งเกิดจากเเรงดันอากาศนั้นเอง
การทดสอบ3 เปิดเทปรูที่ 3 (รูด้านล่าง)สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น คือ น้ำจะไหลออกมาเเรงกว่ารูที่1และรูที่ 2
เปิดเทปออกเเล้วน้ำจะไม่ไหลออกมา
ลองเปิดฝาขวดน้ำออก
น้ำก็จะไหลออกมาค่อยๆเเต่ไม่เเรง
น้ำจะไหลเเรงกว่ารูที่ 1
การทดสอบ3 เปิดเทปรูที่ 3 (รูด้านล่าง)สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น คือ น้ำจะไหลออกมาเเรงกว่ารูที่1และรูที่ 2
น้ำรูที่3 ไหลเเรงที่สุด |
การทดลองที่ 5 กิจกรรม "น้ำพุน้อยสูงๆต่ำๆ"
การทดสอบ3 วางขวดน้ำให้สูงกว่าน้ำพุจนสุดสายยาง สิ่งที่เกิดขึ้น คือ น้ำไหลเเรงมาก
สรุป>> เพราะธรรมชาติน้ำจะไหลลงจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ แล้วมีเเรงดันอากาศที่เกิดเป็นน้ำพุออกมา
การทดลองที่ 6 กิจกกรม " จุดประกายของเเสงเทียน"
นำเทียนที่จุดแล้วมาวางบนฐานที่วางไว้ จากนั้นนำแก้วครอบลงไปในเทียน สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น คือ เทียนจะค่อยๆดับไป
การทดลองที่ 7 กิจกรรม "เเสงเทียนลอยน้ำ"
การทดลองที่ 8 กิจกรรม "การหักเเหของเเสง"
มองปากกาข้างล่างจะขยายใหญ่ขึ้น เพราะมองผ่านจากอากาศแล้วมองผ่านน้ำที่มีความหนาเเน่นมากมันจึงเห็นเป็นการขยาย
มองผ่านขอบริมน้ำขอบน้ำกับตรงอากาศที่มันว่าง สังเกตเห็นว่ามันเหมือนกับ
ปากกาหัก เพราะมันเกิดจากการหักเเหของเเสง
ความรู้ที่ได้รับ
- วิทยาศาสตร์คือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
- ธรรมชาติของน้ำ น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
- วัถตุที่น้ำสามารถดูดซึมได้เร็วเเละช้า
- การเรียนรู้ของการหักเเหที่เเสงกระทบกับวัตถุ
- การลอยน้ำของมวลของวัถตุที่มีหนักเเละเบา
- การเรียนรู้เรื่องเเรงดันอากาศ และมวลของน้ำ
- กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ ที่เกิดจากการทดลอง ลงมือปฏิบัติ จะช่วยซึมซับให้เด็กเกิดความสงสัย อยากรู้ อยากลอง อยากศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมากขึ้น
Teaching
- ทักษะการใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ ความรู้ที่หลากหลาย
- ครูใช้คำถาม ทำไม เพราะอะไร เกิดขึ้นอย่างไร เพื่อให้นักศึกษาเกิดความสงสัย เเล้วอยากหาคำตอบ
- ทักษะวิทยาศาสตร์ในเรื่องการทดลอง
- ทักษะการสังเกต การคิดวิเคราะห์
- ทักษะการเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติจริงจากการทดลอง
- ทักษะความรู้ในเรื่อง การหักเเหของเเสง
Application
- สามารถจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งใกล้ตัวของเด็ก โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับไปประยุกต์ให้เกิดความแปลกใหม่ได้ เช่น น้ำ ทำให้เกิดการขยายของวัตถุได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นแว่นขยาย ใช้ในการเรียนการสอนได้ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่สามารถบูรณาการได้เป็นอย่างดี
- สามารถสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้อย่างหลากหลาย มีวิธีการง่ายไม่ซับซ้อน และให้เด็กเกิดความสนใจในสิ่งที่ตนเองได้ทดลอง เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย
Evaluation
- การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนการทดลอง รู้สึกตื่นเต้น และสนุกสนานมาก เพราะการทดลองมีหลากหลายวิธี สามารถนำไปประยุกต์ และนำไปใช้สอนกับเด็กปฐมวัยได้ พร้อมกับจดบันทึกเนื้อหา และขั้นตอนการททดลองต่างๆ ทุกขั้นตอน อย่างละเอียด
- การประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ เพื่อนๆสนใจ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการทดลองต่างๆ อย่างตั้งใจ มีการตอบคำถามในสิ่งมี่อาจารย์ถาม ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนานมากขึ้น นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียน และทำกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงมีการจดบันทึก การถ่ายภาพ เพื่อทำให้เข้าในมากยิ่งขึ้นในการทดลองแต่ละขั้นตอน
- การประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีเทคนิควิธีการสอนที่เหมาะสม โดยอาจารย์นำสื่อ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเรียน หรือการทดลอง มีอุปกรณ์เพียงพอสำหรับให้นักศึกษาทุกคนได้ใช้ทดลอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดถามนักศึกษาเพื่อกระตุ้นความคิด และทำให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น อาจารย์มีวิธีการทดลองที่หลากหลาย ไม่ซับซ้อนจนเกินไป ทำให้สามารถนำไปใช้สอนเด็กปฐมวันได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น