บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8
การเรียนวันนี้ คือ กิจกรรม
"การนำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของเพื่อนๆ"
ตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์
- หนูน้อยกระโดดร่ม
- ลูกข่างหรรษา
- ปืนลูกโปร่ง
- เชียร์ลีดเดอร์
- ตุ๊กตาล้มลุก
- รถพลังลม
- กระป๋องโยกเยก
- ไก่กระต๊าก
สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ของดิฉัน คือ" เเม่เหล็กตกปลา"
(ซึ่งเป็นสื่อที่นำไปเล่นตามมุมหรือเล่นเป็นกลุ่ม )
- เเบบตัวปลา หรือสัตว์น้ำต่างๆ
- เชือก
- เเท่งเเม่เหล็ก
- คลิปหนีบกระดาษ
- ไม้
- กาว / สีไม้
- กรรไกร
- กระดาษ
- กล่องกระดาษทำเป็นบ่อปลา
- นำกระดาษมาวาดรูปปลาหรือสัตว์น้ำต่างๆ แล้วระบายสีตกเเต่งให้สวยงาม
- นำปลาหรือสัตว์ที่วาดมาตัดออกเป็นรูปร่าง จากนั้นนำคลิปเสียบกระดาษติดกับเทปกาวใสที่ตัวปลา
- นำไม้ที่เตรียมไว้มาผูกติดกับเชือกปลายเชือกอีกด้านหนึ่งเเล้วอีกด้านหนึ่งก็ผูกกับเเม่เหล็กที่เตรียมไว้
- แล้วนำเบ็ดตกปลามาตกปลาที่อยู่ในบ่อที่จัดไว้
** ความรู้วิทยาศาตร์ในสื่อชิ้นนี้ คือเรื่อง" เเรงดูดของเเม่เหล็ก "
ตัวอย่าง >>> การนำวัสดุต่างๆมาวางไว้ เช่น คลิปเสียบกระดาษ เข็มเย็บผ้า เทียน นอต กระดาษ ไม้ ฝาขวดน้ำ จากนั้นก็นำเเม่เหล็กมาดูดกับวัตถุต่างๆ เเล้วสังเกตดูว่าวัตถุอะไรที่เเม่เหล็กสามารถดูดได้บ้าง และดูดไม่ได้ จากการสังเกตพบว่าวัตถุที่เเม่เล็กดูดได้ คือ คลิปเสียบกระดาษ เข็มเย็บผ้า นอต ส่วนวัตถุที่เเม่เหล็กดูดไม่ได้คือ กระดาษ ไม้ ฝาขวดน้ำ
ข้อสรุป>> พบว่าเเม่เหล็กไม่สามารถดูดวัตถุได้ทุกชนิด **
ความรู้ที่ได้รับ
- การนำวัสดุที่เหลือใช้มาคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ผลงานทางวิทยาศาสตร์
- การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
- การสอนประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ ครูต้องคำนึงว่าเด็กต้องทำได้ มีขั้นตอนวิธีการประดิษฐ์ที่ไม่ซับซ้อน และเด็กได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น ได้เนื้อหาความรู้จากสื่อชิ้นนี้ และได้ทักษะในการลงกระทำด้วยตนเอง
- การประดิษฐ์สื่อต่างๆ เด็กจะได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ การสังเกต การเปรียบเทียบ การทดลองเเละความคิดสร้างสรรค์
- การสอนเด็ก ครูต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมมาสนับสนุนเนื้อหาที่สอน
- ของเล่นทางวิทยาศาสตร์เเต่ละชิ้นจะเกิดการเปลี่ยนเเปลงเกิดสิ่งที่เเปลกใหม่ขึ้นมา เรียกว่า หลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้คำถามชวนคิดว่า "ทำไม" เช่น ทำไมกังหันลม จึงหมุนได้
- การพูดนำเสนอสื่อหน้าชั้นเรียน ควรพูดออกเสียงให้ชัดถ้อยชัดคำ การออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล บุคลิกภาพ และมารยามที่ดี
- การสอนเด็กให้เรียนรู้และศึกษาค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองจากการเล่นของเล่นที่เป็นสื่อทางวิทยาศาสตร์
- การให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 และการลงมือกระทำด้วยตนเอง
- การเลือกใช้วัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
- การประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์จากการให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลการทำของเล่นด้วยตนเอง
- ทักษะการพูดนำเสนอสื่อหน้าชั้นเรียน บุคลิกภาพ การออกเสียงคำควบกล้ำ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์
- เมื่อเพื่อนๆนำเสนอสื่อของตนเองจบ อาจารย์จะใช้คำถาม เพื่อกระตุ้นความคิดเเละความเข้าใจของนักศึกษา
- เมื่อเพื่อนนำเสนอสื่อ มีการเปิดโอกาสให้เพื่อนที่นั่งฟังได้เเสดงความคิดเห็นและการตอบคำถามในข้อสงสัยในสื่อที่เพื่อนนำเสนอ
Application
- การนำสื่อของเล่นทางวิทยาศาตร์มาจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย
- ฝึกการสอนให้เด็กเลือกวัสดุที่เหลือใช้มาประดิษฐ์ผลงานอย่างสร้างสรรค์
- การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เรื่องหน่วยศิลปะ ให้เด็กประดิษฐ์ชิ้นงานหรือของเล่นวิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้
Evaluation
- ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนๆนำเสนอ ตอบคำถามของอาจารย์ และเเสดงความคิดเห็นในสิ่งที่เรียนพร้อมจดบันทึก ชอบสิ่งประดิษฐ์ที่เพื่อนๆนำเสนอเเต่ละสื่อมีความเเปลกใหม่เเละหลากหลาย ซึ่งเราสามารถนำมาสอนเด็กทำได้ ( ความรู้สึกวันนี้รู้สึกว่าตัวเองนำเสนอสื่อได้ไม่ดีเลย ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ขาดการกล้าเเสดงออก ทั้งๆที่ตั้งใจประดิษฐ์สื่อชิ้นนี้ออกมาเเต่กับนำเสนอสื่อผลงานได้เเย่มาก) เเต่ตั้งใจว่าครั้งหน้าจะปรับปรุงตัวเองให้ดีกว่านี้
- ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ เพื่อนนำสื่อวิทยาศาสตร์ที่ตนเองประดิษฐ์ มานำเสนอหน้าชั้นเรียน เเละอธิบายรายละเอียดของสื่อได้ชัดเจน และทุกคนได้ร่วมกันเเสดงความคิดเห็นในสิ่งที่อาจารย์ได้ถาม
- ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีเทคนิคการสอนที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ ในเรื่องหลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลง เเละเกิดสิ่งที่เเปลกใหม่ขึ้นอยู่เสมอ โดยใช้คำถามว่า" ทำไม" เพื่อให้นักศึกษาระดมความรู้ความคิดช่วยกันหาคำตอบ เเละอาจารย์ก็ได้อธิบายเนื้อหารายละเอียดที่ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น