วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปความรู้ เรื่องอากาศ

สรุปความรู้ เรื่อง อากาศ (atmosphere)

อากาศ (atmosphere) คือ ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย อากาศมีอยู่รอบ ๆ ตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้บนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น อากาศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญของอากาศ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้น
สมบัติของอากาศ (Properties)
1.อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
2.อากาศมีน้ำหนัก
3.อากาศต้องการที่อยู่
4.อากาศเคลื่อนที่ได้ และ เมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้น ทำให้ความหนา
แน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบริเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่น
มากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม
        - อากาศ จะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย แต่บางเวลาเคลื่อนที่มาก ทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก
เป็นต้น
         - ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสอง
บริเวณนั้น ทำให้เกิดลมที่มีกระแสลมพัดมีความเร็วสูง เรียกว่า พายุ ชื่อภาพยุนั้นจะเรียกแตก
ต่างไปตามแหล่งทวีปโลก และตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เกิด
ความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็น
จำนวนมาก

อุณหภูมิ (temperature) คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลด
ต่ำลง ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับความร้อนหนาวของ
สิ่งต่างๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส และองศฟาเรนไฮต์

เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) มีลักษณะคล้ายหลอดแก้ว หัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็กๆ อยู่ปลาย
ด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลว เมื่ออากาศร้อนของเหลวจะขยายตัว ทำให้ระดับ
ของเหลวสูงขึ้น เราเรียกว่า อุณหภูมิสูง แต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัว ระดับของเหลวจะ
ลดลง เรียกว่า อุณหภูมิต่ำ
อากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต ถ้าขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถ
ดำรงชีวิตอยู่ได้

  • อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิไม่ให้
ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกยังทำหน้าที่กรองและดูดรังสีอุลตราไว
โอเลตหรือแสงเหนือม่วงไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าสู่โลกชั้นในมากจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

  • ช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก เช่น อุกกาบาต ขยะอวกาศ
ทำให้เกิดเมฆฝน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำเกษตรกรรมในประเทศ


วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 13


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 13

วัน  พฤหัสบดี  ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

 เนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอนของวันนี้

กิจกรรมที่ 1 >>วันนี้อาจารย์ให้นำของเล่นที่เป็นสื่อวิทยาศาสตร์มาส่ง แล้วให้นำไปวางเป็นหมวดหมู่ของเเต่ละประเภทในทางวิทยาศาสตร์  

1. การเกิดจุดศูนย์ถ่วง

2. การใช้เเรงดันลม/อากาศ

3. การเกิดเสียง

4. การใช้พลังงาน/การเกิดเเรง


5. จัดเล่นตามมุม


6. การใช้เเรงดันน้ำ คือ สปริงเกอร์

กิจกรรมที่ 2 >> การนำเสนอวิจัยทางวิทยาศาสตร์สำหรับด็กปฐมวัย 

1. วิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยช้รูปเเบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย: ณัฐชุดา สาครเจริญ  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้นำเสนอวิจัย: นางสาว ชนากานต์  มีดวง

ทักษะวิทยาสาสตร์ทั้ง 6 ด้าน คือ

  • การสังเกต
  • การจำเเนก
  • การวัด
  • มิติสัมพันธ์
  • การสื่อสาร
  • การลงความเห็น

รูปเเบบศิลปะสร้างสรรค์ 6 รูปเเบบที่นำมาจัดประสบการณ์

  • ศิลปะย้ำ
  • ศลปะปรับภาพ
  • ศิลปะเลียนเเบบ
  • ศิลปะถ่ายโยง
  • ศิลปะบูรณาการ
  • ศิลปะค้นหา

มโนทัศน์ คือ เเนวคิด
กิจกรรมการสอนเสริมประสบการณ์ เช่น การทำอาหารที่ใช้อุปกรณ์ในห้องครัว

2. วิจัยเรื่อง ผลการบันทึกการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
ผู้นำเสนอวิจัย : นางสาว สุธิดา คุณโตนด
มิติสัมพันธ์>>ความสามารถในการมองเห็น  การเข้าใจ และการจำเเนก
การจัดกิจกรรม>>  การให้เด็กทดลอง =>การสื่อความหมาย => การวาดภาพระบายสี => การบันทึก

3. วิจัยเรื่องผลของการจัดประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
ผู้วิจัย:  เสาวภาคย์ สว่างจันทร์
ผู้นำเสนอวิจัย : นางสาวธิดารัตน์ สุทธิผล



พัฒนาทักษะ>>การจำเเนก การเรียงลำดับ การจัดกลุ่ม การหาความสำคัญ การจัดหมวดหมู่
เครื่องมือวัด คือ แบบประเมินการจะเเนก การเรียงลำดับ และการหาความสัมพันธ์
การสอนเเบบสืบเสาะ
1. ครูเเละเด้กร่วมกันตั้งคำถามทางวิทยาศาสตร์
2. สำรวจ ตรวจสอบ และรวบรวมข้อมูล
3. หาคำตอบพร้อมอธิบาย
4. การนำเสนอ
คำถาม : หน่วยฝน เด็กๆรู้จักบรรยายกาศก่อน และ หลังฝนตกไหม แล้วเป็นบรรยายกาศอย่างไร

4. วิจัยเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
ผู้นำเสนอวิจัย : นางสาว ธนภรณ์  คงมนัส


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มี 6 ด้าน
1. การสังเกต
2. การจำเเนก
3. การเเสดงปริมาณ
4. มิติสัมพันธ์
5. การสื่อความหมาย
6. การเเสดงความคิดเห็น

กิจกรรมที่ 3 >> การทำCooking เมนูการทำขนมวาฟเฟิล

อุปกรณ์ 


  • ที่ตีไข่
  • ชามขนาดใหญ่
  • ถ้วยเล็ก
  • ช้อน
  • จาน
  • ไข่ไก่
  • เเป้งวาฟเฟิล
  • น้ำ
  • เนย
  • เตาที่ทำวาฟเฟิล
ขั้นตอนการทำ



1. ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ เช่น ไข่ไก่ ถ้วย/ชามขนาดใหญ่  ช้อน ที่ตีไข่ เเป้งวาฟเฟิล เนยที่ทำขนม จาน เป็นต้น พร้อมทั้งอธิบายและสาธิตวิธีการทำขนมวาฟเฟิลให้นักศึกษาดู
2. ขอตัวเเทนอาสาสมัครมาใช้ครูจัดของเเบ่งออกให้เป็น 6 กลุ่ม
3. ให้ตัวเเทนอกมารับอุปกรณ์ แล้วก็ช่วยกันทำ เริ่มจากตอกไข่ไก่ลงไปในชามที่เตรียมไว้ จากนั้นก็ตีไข่ให้คนเข้ากัน ใส่เนยลงไปตีให้ละเอียด แล้วค่อยๆเทเเป้งวาฟเฟิลลงไปพร้อมกับใส่น้ำที่ละนิดคนให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน พอเสร็จเรียบร้อยเเล้วก็ตักใส่ถ้วยเล็กๆไว้ตามจำนวนกลุ่มของตนเอง เเล้วนำมาเทลงบนเตาที่ทำวาฟเฟิลปิดเตาไว้รอจนสุกได้ที่ แล้วก็นำมาใส่จานรับประทานได้เลยค่ะ

Application

  • การนำความรู้ในเรื่องวิจัยมาจัดทำเเผนการเรียนการสอนให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม
  • การนำเเนวทาง เครื่องมือการของการวิจัยมาจัดเพื่อการศึกษาต่อเด็กได้
  • การนำวิจัยมาจัดเเผนประสบการณ์ให้กับเด็กเเละบูรณาการเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆให้เกิดทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลาย
  • การนำวิจัยมาเป็นโครงสร้างในการแผนการเรียนการสอนที่จะสอดคล้องกับกิจกรรมที่จัดให้เด็ก
  • การสอนให้เด็กรู้จักวิธีการทำขนม รู้จักการลำดับขั้นตอนการทำ และระมัดระวังความปลอดภัยด้วย

Teaching 

  • การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในการเลือกเรื่องงานวิจัย
  • เทคนิคการสาธิตวิธีการทำขนม
  • ทักษะการคิดทางวิทยาศาสตร์
  • ทักษะการสรุปความรู้วิจัยในเรื่องต่างๆ
  • ทักาะการออกไปพูดหน้าชั้นเรียน และบุคลิกภาพในการยืนพูดหน้าชั้นเรียน
  • ทักษะการออกเสียงที่ชัดเจน น้ำเสียง และคำควบกล้ำ
  • การฝึกการสังเกตวิธีการทำขนม
  • การใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ สังเกต สิ่งต่างๆ
  • ได้เทคนิคการสอนเด็กปฐมวัยในการจัดกิจกรรมที่จะสอนให้เด็กทำขนม โดยที่ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย

Evaluation 

  • ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอวิจัย ซึ่งเป้นวิจัยที่มีเนื้อหาสาระที่ดีเหมาะกับการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เด็กปฐมวัยทางด้านวิทยาศาสตร์ มีตัวอย่างการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มากมาย ที่เราสามารถนำไปเป็นโครงเรื่องในการเขียนเเผนการสอนให้กับเด็ก เเละวันนี้ก็ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกอย่างหนึ่งจากอาจารย์  คือการจัดกิจกรรมการทำCooking ทำขนมวาฟเฟิลที่มีวิะีการทำไม่ยุ่งยากเเละไม่สับซ้อนเหมาะกับไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้ ซึ่งเนื้อหาความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ดิฉันจดบันทึกว้เพื่อที่จะได้นำไปใช่ในการฝึกสอนในอนาคตได้
  • ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และตั้งใจร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี สนุกสนานกันในการเรียนวิชานี้
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลามาก เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์มีเทคนิควิธีการสอนดีมาก มีการเเนะนำวิจัยการพูดหน้าชั้นเรียน และอธิบายงานวิจัยเพิ่มเติมจากที่เพื่อนพูด เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจมากขึ้น มีการใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาเกิดการคิดวิเคราะห์ และทบทวนความรู้ในงานวิจัยของเพื่อนๆ  มีเทคนิคการจัดกิจกรรมการสอนทำCooking ที่ไม่ให้นักศึกษาเกิดความวุ่นวายเลย มีการเตรียมอุปกรณ์ที่พร้อมเเละเพียงพอสำหรับเด็ก มีการสาธิตวิธีการทำให้นักศึกษาได้ดู และมีพูดถึงข้อควรระวังในความปลอดภัยในขณะที่เด็กๆทำกิจกรรมด้วย วันนี้นักศึกษาและอาจารย์รู้สึกสนุกสนานในการทำกิจกรรมมากยิ้มหัวเราะกันอย่างมีความสุขในช้้นเรียน

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12

วัน พฤหัสบดี ที่ 13 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557


เนื้อหาการเรียนวันนี้ การพูดสรุปงานวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คนที่ 1 >> วิจัยเรื่องการส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการสังเกตสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น
2. เพื่อให้นักเรียนนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เเบบประเมินทักษะการสังเกตการเล่นเกม5เกม
1. เกมจับคู่ภาพเหมือน
2. เกมจับคู่ภาพกับเงา
3. เกมภาพตัดต่อ
4. เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ
สรุปผลการวิจัย
         การส่งเสริมทักษะการสังเกตของนักเรียนชั้นอนุบาล3 โดยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา พบว่าเด็กนักเรียนอนุบาล 3 ทั้ง 36 คน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกม การศึกษามีทักษะการสังเกตสูงขึ้น

คนที่ 2 >> วิจัยเรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. เเผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดลองทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
สรุปผลการวิจัย
         กิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากการเล่านิทาน ซึ่งนิทานเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เมื่อฟังนิทานจบเด็กได้ประดิษฐ์ ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง

คนที่ 3>> วิจัยเรื่องการศึกษาผลของรูปเเบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด๋กปฐมวัย
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัย
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองเเละหลังทดลอง
สรุปผลการวิจัย
           วิจัยการศึกษาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด๋กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีความมุ่งหมายคือ เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการเรียนรู้และเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองเเละหลังทดลอง ซึ่งเป็นวิจัยเชิงทดลองจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับปฐมวัย เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ทำการทดสอบด้วยเเบบทดสอบจนครบ 8 สัปดาห์ เมื่อเสณ้จการทดลองก็นำเเบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาสตร์ของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้งเเล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ

คนที่ 4 >>วิจัยเรื่องผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ความมุ่งหมายของการวิจัย 
1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง
ครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
 2.1 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ 
 2.2 แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร
สรุปผลการวิจัย
1. ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและจ าแนกรายทักษะ หลังการใชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยอยูมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั้งโดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด
2. หลังการใชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์สูงขึ้นกวากอนใชแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยางมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คนที่5 >>วิจัยเรื่องกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ
เครื่องที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ 40 แผน
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์
  • การจำเเนก
  • การวัดปริมาณ
  • การหามิติสัมพันธ์
  • การลงความเห็น
สรุปผลการวิจัย
เน้นเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติทุกขั้นตอน โดยให้เด็กทำแป้งโด แล้วนำมาเล่นตามจินตนาการ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการจัดการเรียนการสอนของจอห์น ดิวอี้

คนที่6 >>วิจัยเรื่องการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร
     การวิจัยครั้งนี้เปนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ซึ่งทําการศึกษากับกลุมตัวอยางที่เปนเด็กปฐมวัย โดยผูวิจัยสรางความคุนเคยกับกลุมตัวอยาง 1 สัปดาหกอนการทดลอง จากนั้นทําการทดสอบเพื่อวัดการคิดวิจารณญาณกอนการทดลอง (Pre-test) โดยใชแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ผูวิจัยสรางขึ้น กับกลุมตัวอยาง และดําเนินการทดลองดวยตนเอง จํานวน 8 สัปดาหเมื่อดําเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห นําแบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้ง และนําขอมูลที่ไดจาก การทดสอบไปทําการวิเคราะหขอมูลดวยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

คนที่ 7 >>วิจัยเรื่องการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
จุดมุ่งหมายของการวิจัย
           เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ  
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
     1.1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
     1.2) แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ
2. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล จำนวน 50 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ชุดได้เเก่ 1) แบบทดสอบด้านการจำเเนก  2)การจัดประเภท  3)อุปมาอุปมัย  4)อนุกรม 5)เเบบทดสอบสรุปความรู้
สรุปผลการวิจัย
           เด็กปฐมวััยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับเเบบปกติหลังการทดลองมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลเเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5


Teaching 
  • การสืบค้นงานวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยตนเอง
  • การสรุปผลคิดวิเคาระห์เนื้อหาความรู้ในงานวิจัย
  • การถ่ายทอดความรู้เนื้อหาในงานวิจัยจากการสรุปผล แล้วออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
  • การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้นักศึกเกิดความคิดและเกิดความสงสัยอยากรู้อยากเห็นในการจะศึกษาค้นข้อมูลความรู้เพิ่มเติม
  • การให้คำเเนะนำในการออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน และคำเเนะนำในเนื้อหาความรู้ของงานวิจัยที่นักศึกษาได้สรุปผล
 Application 
  • การนำความรู้ในงานวิจัยทางวิทยาสตร์ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีความเนื้อหาที่สอดคล้องกับเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสม
  • การนำงานวิจัยมาปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะพัฒนาการที่ดีให้กับเด็กปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การสอนเด็กในเรื่องธรรมชาติรอบๆตัวที่เราสามารถนำมาบูรณาการกับวิชาต่างๆได้
  • การนำงานวิจัยปรับใช้ให้ง่ายขึ้นต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
  • การนำวิจัยมาเป็นเครื่องมือสื่อการสอนและจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก
Evaluation 
  • ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ มีความพร้อมในการเตรียมข้อมูลมานำเสนอหน้าชั้นเรียน  แต่ข้อมูลที่สรุปผลมาอาจไม่ครอบคลุมทั้งหมด  เเต่ก็ทำให้เพื่อนๆเข้าใจเนื้อหางานวิจัยที่ดิฉันไดำนำเสนอ น้ำเสียงการพูดอาจมีสะดุดบางเนื่องจากรู้สึกตื่นเต้น  ได้จดบันทึกความรู้เนื้อหาของงานวิจัยที่เพื่อนได้นำเสนอและคำเเนะนำที่ได้รับจากอาจารย์ ก็จะนำไปปรับปรุงเเก้ไขให้ดีกว่านี้ในครั้งต่อๆไป
  • ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังความรู้ต่างๆจากงานวิจัยของเพื่อนๆที่ได้สรุปข้อมูลที่สำคัญๆออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนให้นักศึกษาทุกคนได้ฟังเเละเข้าใจ เพื่อให้เกิดเนื้อหาความรู้ที่ครบถ้วน
  • ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพ อาจารย์ให้คำเเนะนำ และวิธีการพูดนำเสนอหน้าชั้นเรียน และอาจารย์ก็ฝึกให้นักศึกษาเรียนรู้หาวิจัยด้วยตนเอง ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายจากการอ่านวิจัยและสรุปความรู้ในงานวิจัยของตนเองและของเพื่อนๆ อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้กระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์และได้สรุปผลความรู้ต่างๆจากสิ่งที่เรียน





วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์


สรุปวิจัย

เรื่อง การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
 โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 ผู้วิจัย  นางสายทิพย์ ศรีแก้วทุม 

ความสำคัญของการวิจัย
             การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ ซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปถึงวิธีการที่จะส่งผลต่อการพัฒนาการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย และจะเป็นเเนวทางใหม่สำหรับครูและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ที่จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
         
  จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
           เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  

สมมติฐานในการศึกษาค้นคว้า
          เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ  มีการคิดอย่างมีเหตุผลเเตกต่างกัน

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียนชาย - หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2541 โรเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์
2. การคิดอย่างมีเหตุผล หมายถึง กระบวนการรับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆของเด็กปฐมวัย โดยใช้หลักการข้อเท็จจริง รวมทั้งประสบการณ์มาใช้เป็นข้อมูล ในการห่คำตอบ ซึ่งวัดได้จากเเบบทดสอบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยการคิดอย่างมีเหตุผล 5 ด้าน คือ
2.1. การจำเเนก
2.2. การจัดประเภท
2.3. การอุปมาอุปมัย
2.4. อนุกรม
2.5. การสรุปความ
3. กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ หมายถึง กิจกรรมศิลปะประจำวันที่กำหนดช่วงเวลา กิจกรรมสร้างสรรค์ ตามเเผนการจัดประสบการณ์ ที่ประกอบด้วย การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ฉีก ตัด ปะ และประดิษฐ์วัสดุต่างๆ ในการวิจัยครั้งนี้ จำเเนกเป็น 2 ลักษณะ คือ
3.1. กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เเบบปกติ
3.2. กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ที่เด็กปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
>> รับรู้ประเด็นปัญหา
>> ทดลองปฏิบัติ
>> ตอบคำถาม
>> สรุปความรู้
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
  • ประชากร
         ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี อยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์  อำเภอภูผาม่าน จังหวัด ขอนเเก่น
  • กลุ่มตัวอย่าง 
         กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2541 โดยการสุ่มอย่างเจาะจง จำนวน 30 คน แล้วสุ่มอีกกลุ่มหนึ่ง โดยจับสลากรายชื่อนักเรียนเเบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน

ตัวเเปรที่ศึกษา
  • ตัวเเปรอิสระ
กิจกกรมศิลปสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งเเบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
 >> กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
>> กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ
  • ตัวเเปรตาม
การคิดอย่างมีเหตุผล

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
     1.1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
     1.2) แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ
2. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล จำนวน 50 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ชุด                       ได้เเก่ 1) แบบทดสอบด้านการจำเเนก  2)การจัดประเภท  3)อุปมาอุปมัย  4)อนุกรม  5) แบบทดสอบสรุปความ
ทั้ง 4 ชุดนี้เป็นแบบทดสอบที่เป็นรูปภาพเหมือนจริงและรูปทรงเรขาคณิต และการสรุปความเป็นเเบบทดสอบที่เป็นภาษา

วิธีการดำเนินการทดลอง
1. ทำความคุ้นเคยกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างรวมระยะเวลา 1 สัปดาห์
2. ทำการทดลองก่อนทดลองกับเด็กปฐมวัยด้วยเเบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล 5     ด้าน ด้านละ 10 ข้อ รวม 50 ข้อ
3. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองกับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งกลุ่มการทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยเเต่ละกลุ่มทำกิจกรรมทุกวัน วันละ 20 นาที เป็นเวลา 8 สปดาห์ๆละ 5 วัน รวม 40 ครั้ง
4. เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล ชุดเดียวกับการทดสอบก่อนทำการทดลอง

การวิเคาระห์ข้อมูล
1. สถิติพื้นฐาน
     1.1 ค่าเฉลี่ยของคะเเนนความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล
     1.2 ความแปรปรวนของคะเเนนความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล
2. สถิติที่ทดสอบสมมติฐาน
      2.1 เปรียบเทียบความเเตกต่างของคะเเนนเฉลี่ยความสามารถการคิดอย่างมีเหตุก่อนทดลองและหลังทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
     2.2 เปรียบเทียบความเเตกต่างของคะเเนนเฉลี่ยความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลระหว่าง 2 กลุ่

สรุปผลการศึกษค้นคว้า
              เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับเเบบปกติหลังการทดลองมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลเเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีคะเเนนการคิดอย่างมีเหตุผลสูงกว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ

ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ชื่อกิจกรรม : เเป้งปั้นเเสนสนุก
จุดมุ่งหมาย
1. เด็กสามารถบอกลักษณะของเเป้งก่อนและหลังนวดเป็นแป้งโดว์ได้
2. เด็กสามารถจัดประเภทผลงานที่ปั้นออกเป็นหมวดมู่ได้
3. เด็กสรุปผลเกี่ยวกับเเป้งโดว์ที่นวดและนำมาปั้นได้อย่างมีเหตุผล
เนื้อหา
>>การทำเเป้งโดว์ และนำมาปั้นเป็นรูปต่างๆ
อุปกรณ์
>>แป้งสาลี เกลือบ่น น้ำ น้ำมันพืช สีผสมอาหาร กะละมังใบเล็กสำหรับนวดแป้ง ผ้าเช็ดมือ
 การดำเนินกิจกรรม 
กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เเบบปกติ
ขั้นที่1 ขั้นนำ
       ครู :  เเนะนำกิจกรรมและอุปกรณ์ อธิบาย วิธีทำ วิธีใช้วัสดุ พร้อมใช้คำถาม กระตุ้นให้เด็กคิดและสนใจกิจกรรม " วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำเเป้งโดว์ ทราบไหมคะว่าทำอย่างไร " ( ครูอธิบายวิธีและสาธิตนวดเเป้งจนเสร็จ นำไปให้เด็กปั้น)
ขั้นที่2 ปฏิบัติ 
     เด็ก: ลงมือทำกิจกรรมอย่างอิสระ
ครู : คอยเเนะนำให้ความช่วยเหลือ เมื่อเด็กต้องการ
ขั้นที่3 เล่าผลงาน
     เด็ก: เล่าผลงานและเเสดงความคิดเห็น
ขั้นที่4 เเสดงผลงาน
    ครูและเด็ก : นำผลงานจัดเเสดงหมุนเวียนให้ทั่วถึงทุกคน

กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เเบบใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ขั้นที่1 รับรู้ประเด็นปัญหา
         ครู : เเนะนำกิจกรรมและอุปกรณ์ พร้อมใช้ คำถามกระตุ้นให้เด็กเกิดปัญหา " ทำอย่างไรเเป้งที่เตรียมมาจึงจะนำมาปั้นเป็นรูปตามที่เด็กๆต้องการได้ค่ะ"
ขั้นที่2 ทดลองปฏิบัติ
        โดยเด็กพิจารณาปัญหา เลือกวิธีการเเก้ปัญหา และลงมือทำกิจกรรมเพื่อเเก้ปัญหา เด็กลงมือทำกิจกรรมอย่างอิสระ
ครู : คอยเเนะนำให้ความช่วยเหลือ เมื่อเด็กต้องการ
ขั้นที3  ตอบคำถาม
        ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดหาเหตุผล จากกระบวนการทำกิจกรรม ดังนี้
(1) ทำอย่างไรเเป้งที่เตรียมมาจึงจะนำมาปั้นเป็นรูปต่างๆได้
(2) เเป้งก่อนนวดและหลังนวดต่างกันอย่างไร
(3) อะไรที่ทำให้แป้งติดกันเป็นก้อนได้
(4) ถ้าเติมน้ำมากๆ แป้งจะเป็นอย่างไร
(5) เด็กนำแป้งที่นวดแล้วมาปั้นเป็นรูปอะไรบ้าง รูปที่ปั้นอันไหนบ้างเป็นพวกเดียวกัน
ขั้นที่ 4 สรุป
       เด็ก : แป้งสาลีก่อนเติมน้ำจะเป็นฝุ่นเมื่อเติมน้ำเเล้วนวดจะจับกันเป็นก้อน และสามารถนำมาปั้นเป็นรูปต่างๆได้