วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6

วัน พฤหัสบดี  ที่ 25 กันยายน  พ.ศ. 2557


 Activities "กระดาษร่อนหมุนหรรษา"

  Equipment 
1.กระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้า(Rectangle paper)
 2.คลิปหนีบกระดาษ(Paper clip)
3. กรรไกร (Scissors)

 ขั้นตอนการทำ 


  1.  ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
  2. พับครึ่งของกระดาษ
  3. ตัดปลายกระดาษเข้าด้านใน จนถึงครึ่งหนึ่งของครึ่งที่ตัดไว้
  4.  พับปลายกระดาษฝั่งตรงกันข้าม โดยพับเข้ามาเล็กน้อย
  5. ติดคลิปหนีบกระดาษตรงส่วนปลายกระดาษที่พับเข้า
  6.  ตกแต่งให้สวยงาม
 How to play 




   ประโยชน์ที่เด็กได้รับจากกิจกรมนี้ 
  • เด็กได้รู้จักการสังเกต (Observation)
  • เด็กได้ทดลองและลงมือกระทำด้วยตนเอง
  • เด็กได้ใช้จินตนาการเเละความคิดสร้างสรรค์
  • เด็กได้เรียนรู้ถึงเเรงโน้มถ่วง(Gravitation)
  • เด็กได้ความภาคภูมิใจในการประดิษฐ์ผลงานด้วยตัวเอง
  • เด็กเรียนรู้เเรงต้านทาน(Resistance)
  • เด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ
  • เด็กได้เล่นเเละคิดอย่างอิสระ


** ประยุกต์ได้จาก=> เครื่องบิน เครื่อนร่อน ร่มชูชีพ ฯลฯ

 Science articles 




1. เเสงสีกับชีวิตประจำวัน > เเสงที่เกิดเเม่สี 3 เเม่สีด้วยกัน คือ เเสงสีเเดง เเสงสีเขียวและ เเสงสีน้ำเงิน
2. เงามหัศจรรย์ต่อสมอง > เงาเกิดจากอะไร ? เเละเงาก็เป็นสิ่งที่ควบคู่กับเเสง
3. สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งเเวดล้อม > เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้เด็กเรียนรู้ถึงประโยชน์และความสำคัญของสิ่งเเวดล้อม
**บทความนี้จะเน้นให้เด็กรู้จักการพึ่งพาอาศัยกัน**

4. วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย > การเรียนรู้ที่เเบ่งออกเป็น 4 หน่วยสาระ
หน่วยที่ 1 การสังเกต
หน่วยที่ 2 การรับรู้ประสาทสัมผัส
หน่วยที่ 3 รูปทรงต่างๆ
หน่วยที่ 4 การจัดหมวดหมู่และการจำเเนกประเภท
**ทักษะที่ได้คือ การสังเกต(Observation) การจำเเนก การลงความเห็น การสื่อความหมาย การวัด(measurement) และ การพยากรณ์**
5. การทดลองทางวิทยาศาสตร์ > จัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้คิดเเบบรวบยอด เปิดโอกาสให้เด็กได้คิด ทดลอง เละลงมือกระทำหาคำตอบด้วยตัวเอง ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ที่เด็กได้รับจากประสบการณ์

 Mind map หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ข้าว(Rice) 




 Mind map  the Friends.


 Teaching  
  • ใช้ทักษะคำถามปลายเปิดให้เด็กกระตุ้นความคิด
  • หาสื่อกิจกรรมที่ง่ายๆที่เด็กสามารถทำได้
  • กระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์และลงมือประดิษฐ์ผลงานด้วยตัวเอง
  • การนำเทคโนโลยีมาใช้ในเรื่องของการเรียนการสอน
  • การอธิบายการเขียน Mind map ที่ถูกต้อง และการวางเเผนการสอน
  • การนำเสนอบทความของเพื่อนๆที่ให้ความรู้ที่หลากหลายในด้านวิทยาศาสตร์

  Application 
  • การหาสื่อวิทยาศาสตร์ที่ง่ายๆที่เด็กสามารถทำได้มาจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้และลงมือกระทำด้วยตัวเอง
  • ส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้เด็กได้คิดและใช้จินตนาการอย่างสร้างสรรค์
  • นำความรู้ที่ได้จากบทความมาสอดเเทรกในเนื้อหาของการเรียนการสอนให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
  • เรียนรู้การเขียน Mind map ที่ถูกวิธีและการวางเเผนการสอนที่เราสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้
  Evaluation  
  • ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม เช่น การทำสื่อวิทยาศาสตร์ และการหาคำตอบของสื่อกิจกรรมที่ทำ  การตอบคำถาม การเเสดงความคิดเห็น 
  • ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา(มีสายบ้างนิดหน่อย) เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และเพื่อนๆก็ให้ความร่วมมือกันในการทำกิจกรรมสื่อวิทยาศาสตร์ และพยายามช่วยกันคิดวิเคราะห์หาคำตอบที่ได้จากกิจกรรมนี้ เพื่อตอบคำถามของอาจารย์
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคการสอน โดยใช้สื่อวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาประดิษฐ์เป็นผลงาน แล้วอาจารย์ถามเด็กว่าได้รับความรู้อะไรจากสื่อชิ้นนี้ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดทักษะต่างๆ  เรียนรู้จากการทดลองและลงมือกระทำ คิดค้นหาคำตอบด้วยตนเอง โดยการวิเคราะห์ และสังเกต 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น