วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 5


 บันทึกการเรียนการสอน  ครั้งที่ 5

วัน  พฤหัสบดี  ที่  18  กันยายน  พ.ศ. 2557
   เนื้อหาการเรียนวันนี้ คือ บทความวิทยาศาสตร์  และกิจกรรมประดิษฐ์คิดวิทยาศาสตร์  
โดยสรุปความรู้ที่ได้รับเป็น Mind map ดังนี้


 การนำเสนอบทความของเพื่อนๆ 

1. สะเต็มศึกษา => การนำเอา 4  วิชาหลักมาบูรณาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวะกรรม และคณิตศาสตร์  เเละการปูพื้นฐานสอดคล้องกับศตวรรษที่21  
*สสวท. การจัดกิจกรรมบูรณาการผ่านการสืบเสาะหาความรู้
2. โลกของเราดำเนินอยู่อย่างไร => เน้นการสร้างประสบการณ์และการเรียนรู้   กระตุ้นการเรียนรู้ และค้นหาคำตอบไปพร้อมๆกัน   การสร้างเเรงบันดาลใจ  การเล่นหรือการเรียนรู้อย่างอิสระ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  => สังเกต >> เก็บข้อมูล >> การเปลี่ยงแปลง >> ครูหาสื่อเนื้อหาความรู้มาให้เด็กทดลอง  
* การหาคำตอบโดยใช้เข็มทิศ สัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์  เพราะเข็มทิศตามเเม่เหล็กของโลก
3. ค่ายวิทยาศาสตร์ => ปัญหาการขาดเเคลนบุคลากร ช่วงวัยเเห่งการเรียนรู้  กระตุ้นให้ความสนใจ  การใช้คำถาม  

  การนำไปประยุกต์ใช้ 
( Application )

1. สามารถนำความรู้จากบทความไปสอดเเทรกเนื้อหาในการเรียนการสอนเเก่เด็กได้ เช่น การเรียนเรื่องความรู้รอบๆตัว , การเรียนเรื่องผลกระทบหรือเหตุการณ์ในสังคม
2. จัดกิจกรรมที่กระตุ้นในเด้กได้เรียนรู้จากการเล่นผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 โดยเด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้รับ
3. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เลือกในสิ่งที่เด็กสนใจเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสมตามวัย

 กิจกรรมประดิษฐ์คิดวิทยาศาสตร์  

"การทดลองทำสื่อวิทยาศาสตร์"
อุปกรณ์ ( Equipment)

1. กระดาษ paper
2. กรรไกร Scissors
3.ไม้เสียบลูกชิ้นที่มีหัวไม่เเหลม
4. เทปกาว
 ขั้นตอนการทำ 



1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2. พับครึ่งวาดรูปอะไรก็ได้ที่มีความสัมพันธ์กันทั้ง2ด้าน
3. เอาไม้เสียบมาวางตรงกลางกระดาษด้านในเเล้วติดเทปกาวให้เเน่น
4. ทดลองหมุนกับมือให้เร็วๆเเล้วสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้น

 How to play 



สรุป  ( Summary ) กิจกรรมนี้สามารถนำไปสอนในหน่วย ศิลปะ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่ซับซ้อน เด็กเรียนรู้เเละเข้าใจได้ง่าย และเกิดจากการรับรู้ของสมองกับตาที่อยู่ในทิศทางเดียวกัน เมื่อเราหมุนไปหมุนมาเเล้วจ้องภาพนานๆเเล้วเพิ่มความเร็วๆขึ้นเรื่อยๆเราก็จะเห็นภาพนี้เป็นภาพเดียวกันเเละมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากเลนส์สายตาปรับความเร็วจากการหมุนไปหมุนมาเร็วๆ  จึงทำให้เกิดภาพซ้อน

 เทคนิคการสอน 
( Teaching )


  • มีการเตรียมสื่อวิทยาศาสตร์มาให้นักศึกษาลองทำดูเป็นการประดิษฐ์สื่อที่ง่ายๆเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
  •  ทักษะการใช้คำถามปลายเปิดว่าสื่อที่เราทำนั้นได้อะไรบ้าง
  • ทักษะด้านวิทยาศาสตร์  รู้จักการคาดคะเนหรือกะระยะภาพที่จะวาดให้สองด้านมีความสัมพันธ์กัน
 คำศัพท์น่ารู้ 

Science process skills =  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
Collection = สะสมเกิดสิ่งใหม่ๆ
Prediee = คาดการพยากรณ์
Infer = ลงความเห็น
Measure = การวัด
Obserrve = สังเกต
Use = ใช้
Tools = เครื่องมือ
Facts = ความจริง
 Science  = วิทยาศาสตร์
Technology = วิศวะกรรม
Engenia = เทคโนโลยี
Math = คณิตศาสตร์
 การนำไปประยุกต์ใช้ 
Application )

  • สามารถจัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้และลงมือปฏิบัติ เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
  • ครูสามารถใช้คำถามปลายเปิดให้เด็กได้ช่วยกันตอบหรือเเสดงความคิดเห็นในชิ้นผลงานที่เด็กได้ทำในกิจกรรม
  • ฝึกให้เด็กลงมือทำงานร่วมกันในห้องเรียนกับเพื่อนๆ เด็กก็จะได้ความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในชั้นเรียน และคุณครูด้วย
การประเมิน
 ( Evaluation )

ประเมินตนเอง: เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ  เเสดงความคิดเห็นเเละให้ความร่วมมือในการตอบคำถามและ มีความตั้งใจในการทำกิจกรรมภาพสื่อ
  • ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบเพื่อนทุกคนให้ความสนใจในการทำกิจกรรมสื่อ เเละช่วยกันเเสดงความคิดเห็นในการหาคำตอบเเละวิเคราะห์คำถามของอาจารย์ และทุกคนสนุกสนานในการทำกิจกรรมมากเลย
  • ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใช้เทคนิคในการสอนโ ดยมาทำกิจกรรมประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์  แล้วใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์และช่วยกันคิดหาคำตอบร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น