วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทความวิทยาศาสตร์


Science articles

  

  สอนลูกเรื่องฤดูกาล (Teaching Children about Seasons)

 

 

ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรองอาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชระดับ: อนุบาลหมวด: เกี่ยวกับอนุบาล
      

               การสอนลูกเรื่องฤดุกาล ( Teaching Children about Seasons ) หมายถึง
 การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึง การเเบ่งช่วงเวลาในหนึ่งปีตาามสภาพอากาศ ในเเต่ละฤดูจะมีสภาพอากาศที่เเตกต่างกันไป เกิดขึ้นจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ความร้อนจากดวงอาทิตย์ การระเหยของน้ำบนผิวโลก และการเคลื่อนที่ของอากาศในเเต่ละภูมิภาคเป็นช่วงฤดูกาลเเตกต่างกัน สำหรับประเทศไทยมี 3 ฤดูกาล คือฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว แต่ภาคใต้ของประเทศไทยจะมีเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน กับฤดูฝน ฤดูกาลเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เด็กจึงควรรู้จักและเข้าใจสภาพธรรมชาติของฤดูกาล เพื่อได้อยู่อย่างมีความสุขกับธรรมชาติ การสอนเด็กให้เด็กเข้าใจธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม จึงถูกบรรจุลงในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ในสาระที่เด็กเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัว ซึ่งเรื่องฤดูกาลเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้จากสภาพจริงในชีวิตประจำวัน และกิจกรรมอื่นๆที่ครูออกเเบบให้ตรงตามความสนใจของเด็ก รวมทั้งพ่อเเม่ที่จะสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตให้เเก่ลูกเรื่องฤดูกาลเช่นกัน

 การสอนเรื่องฤดูกาลสำคัญอย่างไร 
  • สอนเรื่องฤดูกาลที่เป็นเรื่องธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์กับคนเราเสมอ จึงควรสอนความรู้ให้เเก่เด็ก
  • การเรียนเรื่องใดๆเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นคนช่างคิด ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ควรปลูกฝังให้เเก่เด็กปฐมวัย
  • นิสัยของเด็กปฐมวัยจะชอบสำรวจธรรมชาติ ดังนั้น การเรียนเรื่องฤดูกาลเป็นการตอบสนองความสนใจให้เเก่เด็ก
  การสอนเรื่องฤดูกาลมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร 
  • เด็กจะมีความเข้าใจเรื่องของธรรมชาติของฤดูกาล ได้เเก่เหตุที่เกิดและเปลี่ยนแปลงในช่วงปีฤดูกาลที่มีผลต่อชีวิตของคนเรา และเราควรปฏิบัติตนให้มีความสุขได้อย่างไร  เด็กจะหมดความหวาดกลัวธรรมชาติของฤดูกาล เช่น เมื่ฝนตก ฟ้าร้อง ความหนาวเย็น ความร้อน ต่างมีเหตุผลที่มา เมื่อเด็กเข้าใจ เด็กก็จะมีความสุขที่จะอยู่กับธรรมชาติเหล่านี้
  • เด็กได้เข้าใจความสัมพันธ์ของฤดูกาลกับการดำรงชีวิตของตนเอง เช่น การเลือกเครื่องใช้ การกินอาหาร การเดินทาง การรักษาสุขภาพ การเล่น การออกกำลังกาย ฯลฯ ให้สอดคล้องกับสภาพของอากาศในฤดูกาลนั้นๆ
  ครูสอนเรื่องฤดูกาลให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร 

    ในช่วงปีหนึ่งๆมีฤดูกาลเกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง และเเตกต่างกันไปตามสภาพเเต่ละท้องถิ่น ครูจะจัดกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ให้เด็กได้สังเกตผ่านประสาทสัมผัสโดยตรง เช่น 
  • ช่วงฤดูฝนจะมีฝนตกติดต่อกันทั้งวัน การสนทนาของครูและเด็กเริ่มตั้งเเต่เช้า ด้วยคำถามชวนให้เด็กสังเกตและคิดว่า เราเเต่งกายอย่างไร เราใช้อะไรเป็นเครื่องกันฝน ทำไมเราต้องทำเช่นนั้น ครูอาจชวนเด็กๆมายืนที่หน้าต่างมองผ่านกระจกไป เราเห็นท้องฟ้าเป็นอย่างไร บางทีการที่ให้เด็กได้สัมผัสน้ำฝนที่ไหลตามรางน้ำหรือหยดน้ำจากชายคา ทำให้เด็กสนุกสนาน ได้รู้สึกถึงความเย็นฉ่ำของน้ำฝน
  • ในฤดูหนาว ลมหนาวพัดโชยมา ผิวกายของเด็กสัมผัสถึงความเย็น เด็กๆจะต้องสวมเสื้อกันหนาวเเตกต่างจากเสื้อกันฝน  ครูอาจนำเด็กๆไปสำรวจรอบๆโรงเรียน ดูใบไม้บางชนิดเปลี่ยนสีใบ ท้องฟ้ามีหมอกบางๆ เด็กจะต้องนอนห่มผ้าให้อบอุ่น
  • เมื่อมาถึงฤดูร้อน เด็กๆจะเห็นแสงเเดดส่องทั่วสนาม การยืนกลางเเสงเเดดจะร้อนมากขึ้นๆ เด็กๆจะกระหายน้ำมากในช่วงฤดูร้อน การสวมเสื้อผ้าจะต้องเลือกที่เบาบาง
* การสอนผ่านสภาพจริงจะเกิดประโยชน์โดยตรงให้เด็กจะรับรู้และเข้าใจการปฏิบัติตนให้มีสุขภาพเเข็งเเรงส่วนการจัดกิจกรรมครูอาจกำหนดหน่วยการสอนตามช่วงฤดูกาล คือฤดุร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน เด็กๆจะเรียนรู้ผ่านกิจกรรม เช่น กิจกรรมสร้างสรรค์ ครูให้ระบายสีท้องฟ้าที่เห็นในเเต่ละฤดูกาล หรือประดิษฐ์เครื่องใช้เครื่องเล่นในเเต่ละฤดูกาล เช่น ฤดูร้อน ประดิษฐ์ ว่าว กังหัน จรวด พัดลม ฯลฯ
ฤดูฝน ประดิษฐ์ หมวกกันฝน ฤดูหนาว ประดิษฐ์ ดอกไม้จากเศษวัสดุ เป็นต้น

  พ่อเเม่ ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่องกาลอย่างไร 
  • ในเเต่ละฤดูกาล อากาศจะเปลี่ยนแปลง ประสาทสัมผัสของลูกจะส่งความรู้สึกให้เด็กรับรู้ได้ พ่อเม่อาจพูดคุยให้เด็กเข้าใจ คำว่า ร้อน หนาว เย็น เป็นอย่างไร  เมื่อเด็กได้รับสัมผัสจากสภาพจริง 
  • พาลูกออกไปเที่ยวนอกบ้าน ดูสภาพอากาศเเต่ละฤดูกาล
  • จัดอาหารรับประทานในครัวเรือนตามผลผลิตในเเต่ละฤดูกาล
  • จัดเครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมกับฤดูกาลเพื่อรักษาสุขภาพ
  • เล่านิทานจากหนังสือที่มีภาพประกอบ และมีเรื่องราวสะท้อนถึงฤดูกาลต่างๆ
  • ถ่ายรูปลูก และครอบท่ามกลางบรรยายกาศเเต่ละฤดูกาลสะสมไว้ เช่น ภาพว่ายน้ำที่น้ำตก  ภาพเที่ยวทะเลในช่วงฤดูร้อน เป็นต้น
 เกร็ดความรู้สำหรับครู 

      เรื่องของฤดูกาลจะสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยของเด็กปฐมวัย ครูปฐมวัยควรมีความรู้เกี่ยวกับ
  • โรคที่มาในช่วงฤดูหนาว เช่น โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม และโรคหัดเยอรมัน 
  • โรคที่มาในช่วงฤดูฝนคือ โรค มือ เท้า ปาก โรคหวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออก 
  • โรคที่มาในช่วงฤดูฝน คือ ไข้หวัดหน้าร้อน โรคอุจจาระร่วง โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน โรคอาหารเป็นพิษ เป็นต้น
** ครูควรสังเกตและดูเเลสภาพร่างกายของเด็ก และจัดสิ่งเเวดล้อมที่โรงเรียนให้สะอาด ปลอดภัยจากโรค**


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น