วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9

วัน เสาร์ ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557


 " การเรียนวันนี้อาจารย์สอนเขียนเเผนการจัดประสบการณ์" 

         การเขียนเเผนการจัดประสบการณ์หรือการเขียนเเผนการสอนนั้น ต้องควรสอนให้ตรงเนื้อหาสาระในสิ่งที่จะสอน มีวิธีการนำเนื้อหาความรู้ไปสู่เด็ก เเละควรให้เด็กเป็นศูนย์กลางในการเลือกเเละตัดสินใจในสิ่งที่เด็กสนใจอยากจะเรียนรู้ โดยการผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า สิ่งเหล่านี้จะเป็นประสบการณ์ใหม่ ความรู้ใหม่ ที่มีการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงให้เด็กได้พัฒนาการทั้ง4ด้าน โดยครูมีหน้าที่คอยอบรมเลี้ยงดูเด็ก คอยช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกให้เด็ก เช่น หาสื่อุปกรณ์มาให้เด็กเรียนรู้และสังเกต อาจเป็นของจริงหรือของจำลอง การเขียนเเผนการสอนหรือการจัดประสบการณ์ เราสามารถบูรณาการในวิชาอื่นๆได้ เช่น
ด้านคณิตศาสตร์ >>  การนับและบอกจำนวน การใช้สัญลักษณ์  การเเทนค่าตัวเลข
ด้านภาษา >> การสนทนาโต้ตอบ เช่น บอกชนิดของข้าว จะได้เรื่องการพูด การฟัง  การวาดรูปเกี่ยวกับข้าวเป็นการสื่อความคิดและจินตนาการของมาเป็นผลงานหรือภาพ การอ่านจากภาพ การบอกเล่าเรื่องราวจากภาพ การร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง และการเล่านิทาน
ด้านวิทยาศาสตร์ >> การสังเกตควบคู่กับการบอกชนิดของชื่อเเละรูปร่าง การเปรียบเทียบ เป็นต้น

 Mind Map หน่วยเรื่อง ข้าว (Rice) 




 ตัวอย่างเเผนการสอนเรื่อง "ชนิดของข้าว" 




  ขั้นนำ >>การนำเด็กเข้าสู่บทเรียน โดยการร้องเพลง การท่องคำคล้องจอง การเล่านิทาน การเล่นเกมปริศนาคำทาย เช่น ครูกับเด็กร่วมกันร้องเพลงข้าว เเละทำท่าทางประกอบตามจินตนาการเเละความคิดสร้างสรรค์

  ขั้นสอน >>  การใช้คำถามเพื่อทบทวนความจำของเด็ก และกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เกิดการสังเกต เกิดการเปรียบเทียบความเหมือนความต่างของชนิดข้าว โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า หรือประสบการณ์ต่างๆที่เด็กได้รับ เช่น ครูนำข้าวมาเป็นสื่อให้เด็กได้สังเกตชนิดของข้าวเเต่ละชนิดด้วยตาเปล่าหรือการใช้เเว่นขยาย และครูให้เด็กถ่ายทอดผลงานจากการวาดภาพข้าวตามจินตนาการของเด็ก

 ขั้นสรุป >> การสรุปเนื้อหาความรู้และรวบรวมข้อมูลต่างๆของเด็กจากสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ โดยการนำเสนอเป็นกราฟิกอย่างง่าย เช่น ครูและเด็กช่วยกันสรุปความรู้  โดยการใช้กราฟิกในการนำเสนอ

  กิจกรรมเสรี คือ การให้เด็กได้เลือกเล่นตามมุมอย่างอิสระ




  Teaching 

  • ทักษะการคิดบูรณาการกับวิชาอื่นๆ
  • ทักษะการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้อง
  • การใช้คำถาม เพื่อทบทวนความจำของเด็ก
  • ทักษะการเชื่อมโยงความคิด
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการใช้สัญลักษณ์เเทนจำนวนหรือตัวเลข
  • ทักษะการเรียนรู้การทำกราฟิกอย่างง่าย เช่น การทำMind Map การทำตารางเปรียบเทียบ
  • เทคนิควิธีการนำเด็กเข้าสู่บทเรียน
  • การจัดระบบเนื้อหาการเรียนการสอนในเเต่ละวัน
  • ทักษะการคิดหน่วยการสอนในเเต่ละสัปดาห์
  Application 
  • การเรียนรู้วิธีการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้อง
  • การเขียนเเผนการสอนที่สามารถเชื่อมโยงความรู้ความคิดหรือทักษะต่างๆ
  •  การเขียนเเผนการสอนที่บูรณาการเข้ากับวิชาอื่นๆ
  •  การเขียนเเผนการสอนให้เด็กได้รับประสบการณ์หรือเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์
  •  การเขียนเเผนการสอนให้เด็กเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ในเรื่องความคิดเชิงเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์
  •  เด็กได้เรียนรู้ในเรื่อง การสังเกต การเปรียบเทียบ การใช้สัญลักษณ์ การจำเเนก เป็นต้น
 Evaluation 
  • ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายการเขียนเเแผนการสอนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม การคิดวิเคราะห์ การบูรณาการกับวิชาอื่นๆ  พร้อมกับจดบันทึกเนื้อหาและเทคนิควิธีการสอนการเขียนแผนที่ถูกต้องและรอบคอบ
  • ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา ( มีเพื่อนไม่มาบ้างเล็กน้อย) เเต่งกายถูกระเบียบ  เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการฟังอาจารย์อธิบายวิธีการเขียนเเผนการสอนที่ถูกต้อง เเละช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์
  • ประเมินอาจารย์ :  เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพ  มีเทคนิควิธีการสอนการเขียนเเผนการสอน โดยการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ ได้เเสดงความคิดเห็น และยกตัวอย่างอธิบายเนื้อหารายละเอียดที่ชัดเจน เข้าใจมากขึ้น และเขียนเเผนการจัดประสบการณ์ที่มีการเชื่อมโยงความรู้ความคิดทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก





วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8

วัน พฤหัสบดี  ที่ 16  ตุลาคม  พ. ศ. 2557


 การเรียนวันนี้ คือ กิจกรรม
 "การนำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของเพื่อนๆ



สัตว์โลกน่ารัก

 ตัวอย่างสื่อวิทยาศาสตร์ 

  • หนูน้อยกระโดดร่ม
  • ลูกข่างหรรษา
  • ปืนลูกโปร่ง
  • เชียร์ลีดเดอร์
  • ตุ๊กตาล้มลุก
  • รถพลังลม
  • กระป๋องโยกเยก
  • ไก่กระต๊าก

 สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ของดิฉัน คือ" เเม่เหล็กตกปลา" 
(ซึ่งเป็นสื่อที่นำไปเล่นตามมุมหรือเล่นเป็นกลุ่ม )





  Equipment 
  1. เเบบตัวปลา หรือสัตว์น้ำต่างๆ
  2. เชือก
  3. เเท่งเเม่เหล็ก
  4. คลิปหนีบกระดาษ
  5. ไม้
  6. กาว / สีไม้
  7. กรรไกร
  8. กระดาษ
  9. กล่องกระดาษทำเป็นบ่อปลา
  วิธีการทำ 
  1. นำกระดาษมาวาดรูปปลาหรือสัตว์น้ำต่างๆ แล้วระบายสีตกเเต่งให้สวยงาม
  2. นำปลาหรือสัตว์ที่วาดมาตัดออกเป็นรูปร่าง จากนั้นนำคลิปเสียบกระดาษติดกับเทปกาวใสที่ตัวปลา
  3. นำไม้ที่เตรียมไว้มาผูกติดกับเชือกปลายเชือกอีกด้านหนึ่งเเล้วอีกด้านหนึ่งก็ผูกกับเเม่เหล็กที่เตรียมไว้
  4.  แล้วนำเบ็ดตกปลามาตกปลาที่อยู่ในบ่อที่จัดไว้ 
                                                                     How to play 




** ความรู้วิทยาศาตร์ในสื่อชิ้นนี้  คือเรื่อง" เเรงดูดของเเม่เหล็ก "
ตัวอย่าง >>> การนำวัสดุต่างๆมาวางไว้ เช่น คลิปเสียบกระดาษ เข็มเย็บผ้า  เทียน  นอต กระดาษ ไม้  ฝาขวดน้ำ  จากนั้นก็นำเเม่เหล็กมาดูดกับวัตถุต่างๆ เเล้วสังเกตดูว่าวัตถุอะไรที่เเม่เหล็กสามารถดูดได้บ้าง และดูดไม่ได้  จากการสังเกตพบว่าวัตถุที่เเม่เล็กดูดได้ คือ คลิปเสียบกระดาษ เข็มเย็บผ้า นอต ส่วนวัตถุที่เเม่เหล็กดูดไม่ได้คือ กระดาษ ไม้ ฝาขวดน้ำ
ข้อสรุป>> พบว่าเเม่เหล็กไม่สามารถดูดวัตถุได้ทุกชนิด  **

  ความรู้ที่ได้รับ 
  • การนำวัสดุที่เหลือใช้มาคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ผลงานทางวิทยาศาสตร์
  • การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
  • การสอนประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ ครูต้องคำนึงว่าเด็กต้องทำได้ มีขั้นตอนวิธีการประดิษฐ์ที่ไม่ซับซ้อน และเด็กได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เช่น ได้เนื้อหาความรู้จากสื่อชิ้นนี้ และได้ทักษะในการลงกระทำด้วยตนเอง
  • การประดิษฐ์สื่อต่างๆ เด็กจะได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ การสังเกต  การเปรียบเทียบ การทดลองเเละความคิดสร้างสรรค์
  • การสอนเด็ก ครูต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมมาสนับสนุนเนื้อหาที่สอน
  • ของเล่นทางวิทยาศาสตร์เเต่ละชิ้นจะเกิดการเปลี่ยนเเปลงเกิดสิ่งที่เเปลกใหม่ขึ้นมา เรียกว่า หลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้คำถามชวนคิดว่า "ทำไม" เช่น  ทำไมกังหันลม จึงหมุนได้
  • การพูดนำเสนอสื่อหน้าชั้นเรียน ควรพูดออกเสียงให้ชัดถ้อยชัดคำ การออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล บุคลิกภาพ และมารยามที่ดี 
  • การสอนเด็กให้เรียนรู้และศึกษาค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเองจากการเล่นของเล่นที่เป็นสื่อทางวิทยาศาสตร์
  • การให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 และการลงมือกระทำด้วยตนเอง
  • การเลือกใช้วัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
  Teaching 

  • การประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์จากการให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลการทำของเล่นด้วยตนเอง
  • ทักษะการพูดนำเสนอสื่อหน้าชั้นเรียน บุคลิกภาพ การออกเสียงคำควบกล้ำ
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์
  • เมื่อเพื่อนๆนำเสนอสื่อของตนเองจบ อาจารย์จะใช้คำถาม เพื่อกระตุ้นความคิดเเละความเข้าใจของนักศึกษา
  • เมื่อเพื่อนนำเสนอสื่อ มีการเปิดโอกาสให้เพื่อนที่นั่งฟังได้เเสดงความคิดเห็นและการตอบคำถามในข้อสงสัยในสื่อที่เพื่อนนำเสนอ

 Application 
  • การนำสื่อของเล่นทางวิทยาศาตร์มาจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย
  • ฝึกการสอนให้เด็กเลือกวัสดุที่เหลือใช้มาประดิษฐ์ผลงานอย่างสร้างสรรค์
  • การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เรื่องหน่วยศิลปะ ให้เด็กประดิษฐ์ชิ้นงานหรือของเล่นวิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้

  Evaluation 
  • ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนๆนำเสนอ ตอบคำถามของอาจารย์ และเเสดงความคิดเห็นในสิ่งที่เรียนพร้อมจดบันทึก ชอบสิ่งประดิษฐ์ที่เพื่อนๆนำเสนอเเต่ละสื่อมีความเเปลกใหม่เเละหลากหลาย ซึ่งเราสามารถนำมาสอนเด็กทำได้  ( ความรู้สึกวันนี้รู้สึกว่าตัวเองนำเสนอสื่อได้ไม่ดีเลย ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ขาดการกล้าเเสดงออก ทั้งๆที่ตั้งใจประดิษฐ์สื่อชิ้นนี้ออกมาเเต่กับนำเสนอสื่อผลงานได้เเย่มาก)  เเต่ตั้งใจว่าครั้งหน้าจะปรับปรุงตัวเองให้ดีกว่านี้
  • ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ  เพื่อนนำสื่อวิทยาศาสตร์ที่ตนเองประดิษฐ์ มานำเสนอหน้าชั้นเรียน เเละอธิบายรายละเอียดของสื่อได้ชัดเจน และทุกคนได้ร่วมกันเเสดงความคิดเห็นในสิ่งที่อาจารย์ได้ถาม
  • ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีเทคนิคการสอนที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ ในเรื่องหลักการทางวิทยาศาสตร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลง เเละเกิดสิ่งที่เเปลกใหม่ขึ้นอยู่เสมอ โดยใช้คำถามว่า" ทำไม" เพื่อให้นักศึกษาระดมความรู้ความคิดช่วยกันหาคำตอบ เเละอาจารย์ก็ได้อธิบายเนื้อหารายละเอียดที่ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง