บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่11
กลุ่มที่ 1 สอนเรื่องชนิดของกล้วย
ก่อนเข้าสู่กิจกรรม>> ครูจะกล่าวคำทักทายเด็กโดยใช้เพลง สวัสดี
ขั้นนำ >> ครูร้องเพลง กล้วยหวานๆ มีหลากหลายนานา ใครบอกครูได้หนาว่ามีกล้วยอะไร
การที่เด็กตอบ เด็กได้เชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์เดิม
ขั้นสอน >> ครู : วันนี้เรามีกล้วยมาทั้งหมดกี่หวี
เด็ก : มี 7 หวี
ครู : ก็ให้นักเรียนที่อาสาสมัครออกมาหยิบเลขฮินดูอารบิก เลข 7 ไปแปะ
การใช้เกณฑ์ในการจำเเนก >> การเปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า
มีสีเหลืองกับที่ไม่มีสีเหลือง
ดูรูปทรง
กล้วยน้ำว้า กับ ที่ไม่ใช่กล้วยน้ำว้า
วัตถุประสงค์
- เด็กบอกชนิดของกล้วยได้
- เด็กนับจำนวน โดยใช้เลขฮินดูอารบิกแทนค่าได้
กลุ่มที่ 2 สอนเรื่องลักษณะของไก่
หน่วย Chicken
- ครูถามเด็กๆว่า ส่วนประกอบของไก่มีอะไรบ้างค่ะ เเล้วภาพด้านหลังนี้เด็กๆทายซิว่าเป็นไก่อะไร ถ้าเด็กๆทายถูกให้ดีใจแล ะส่งเสียงเย้ๆๆๆ
- ครูถามเด็กว่า ไก่มีสีอะไรบ้าง มีขนาดอย่างไร ( ถ้าตัวเล็กครูอาจจะทำบัตรภาพคนตัวเล็กมาแปะ)
- เด็กบอกลักษณะไก่เเจ้ และไก่ต๊อกได้
- เด็กเปรียบเทียบความเเตกต่างของไก่เเจ้ และไก่ต๊อกได้
- เด็กหาความสัมพันธ์ของไก่เเจ้ แบะไก่ต๊อกได้
- เด็กได้เรียนรู้ ภาษา ( เพลง ) , คณิตศาสตร์ ( การนับ ) ,วิทยาศาสตร์ ( การสังเกต )
กลุ่มที่ 3 สอนเรื่อง วัฏจักรของกบ
หน่วย Frog
จากวีดีโอที่เด็กได้ดูก็จะมี เนื้อเรื่องเกี่ยวกับ
วงจรชีวิตของกบ : ไข่กบ ผ่านไป1 วัน กับจะฟักตัวเป็นลูกอ๊อดแล้วเจริญเติบโตเปลียนไปเรื่อยๆจนกลายเป็นกบที่สมบูรณ์
การดำรงชีวิตของกบ : กบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และจะเปลียนสีตามลักษณะที่อยู่อาศัย อาหารของกบจำพวกเเมลง ปลาตัวเล็ก
กบจำศีล: จะจำศีลในช่วงฤดูหนาว กบจะขุดหลุมอยู่ในดิน และจะปรับตัวเองเพื่อให้อยู่รอด โดยการปิดปาก ปิดตา ปิดจมูก หายใจทางผิวหนัง
ครู>> ทบทวนความรู้จากวีดีโอที่เด็กๆได้ดูว่าเด็กๆเห็นอะไรบ้าง
เช่น กบสีอะไร เด็กๆเคยเห็นกบที่ไหน กบเจริญเติบโตอย่างไร
ครูและเด็กร่วมกันสรุปความรู้เรื่องวัฏจักรของกบ โดยให้เด็กๆวาดภาพวัฏจักรของกบตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
กลุ่มที่ 4 สอนเรื่อง ประโยชน์ และข้อพึงระวังของปลา
หน่วย Fish
ครูเล่านิทานเกี่ยวกับปลา แล้วพูดสอดเเทรกโดยใช้คำถามปลายเปิด ถามเด็กๆว่าปลานี่เราสามารถเอาไปทำอาหารอย่างไรได้บ้างค่ะ เด็กๆตอบคำถามจากประสบการณ์เดิมที่เขามีอยู่ เช่น เอาไปทอด นึ่ง ต้มยำ เป็นต้น
ประโยชน์
- สามารถนำไปขาย
- นำไปปรุงอาหาร
- ปลามีสารอาหาร
- สามารถนำไปแปรรูป
ข้อพึงระวัง
- ไม่ทานสุกๆดิบๆ >> อาจเป็นพยาธิ
- ปลาบางชนิดมีพิษ>> ปลาปักเป้า
- ก้างปลา
กลุ่มที่ 5 สอนเรื่อง ทำเมนูทาโกยากิจากข้าว
หน่วย Rice
ขั้นนำ>> ครูเตรียมอุปกรณ์ ส่วนผสมไว้เรียบร้อย โดยให้เด็กๆเห็นอุปกรณ์ ส่วนผสมที่เตรียมไว้
ครูบอกชื่อ และส่วนผสม และให้เด็กๆสังเกต และครูให้เด็กๆตั้งสมมติฐาน
ขั้นสอน>> ครูสาธิตวิธีการทำ แล้วให้เด็กๆออกมาช่วย เช่นให้เด็กตอกไข่ ตีไข่ ตักเเครอทใส่ ตักปูอักใส่ ตักต้นหอมใส่ ตักข้าวใส่
จากนั้นครูก็คนให้เข้ากัน เเล้วตักหยอดลงไปในเตา แล้วกลิ้งไปกลิ้งมา แล้วให้เด็กๆสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น จากนั้นก็ให้เด็กๆปรุงอาหารเอง
กลุ่มที่ 6 สอนเรื่องชนิดของต้นไม้
หน่วย Tree ครูใช้คำถามปลายเปิด ถามเด็กๆว่ามีต้นไม้อะไรบ้าง แล้วนอกจากต้นไม้ในคำคล้องจองมีต้นไม้อะไรอีก
ขั้นสอน >>ครูเอารูปต้นไม้มาให้เด็กดู แล้วถามเด็ก
ตย. เช่น ภาพต้นเข็ม ให้เด็กๆนำภาพไปวางทางซ้าย ส่วนที่ไม่ใช่ต้นเข็มนำมาวางทางขวา
ครูให้เด็กออกมาหยิบภาพเพื่อนับจำนวนของต้นเข็ม และที่ไม่ใช่ต้นเข็ม
การใช้เกณฑ์จำเเนก ต้นเข็ม กับ ไม่ใช่ต้นเข็ม มากกว่าหรือน้อยกว่ากี่ต้น
กลุ่มที่ 7 สอนเรื่อง ลักษณะของนม
หน่วย Milk
ขั้นนำ>> ร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ
ขั้นสอน >> ทดลองหยดน้ำยาล้างจานใส่นม และสีผสมอาหารลงไป
สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น >>ระหว่างน้ำยาล้างจาน , นม เเละสีผสมอาหาร เมื่อผสมกัน
- นมเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามภาชนะที่ใส่
- นมมีลักษณะเหมือนน้ำ เป็นของเหลว
- มีหลายสี หลายรสชาติ เช่น รสจืด รสหวาน รสเปรี้ยว
- นมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
- หาความสัมพันธ์ระหว่างนมจากพืช ( นมถั่วเหลือง ) เเละนมจากสัตว์ ( นมวัว ) ต่างกันตรงสารอาหาร
กลุ่มที่ 8 สอนเรื่อง การอนุรักษ์น้ำ
หน่วย Water
ขั้นนำ >> ร้องเพลง อย่าทิ้ง แล้วเล่านิทาน เรื่อง หนูนิด โดยสอดเเทรกคำถามปลายเปิด ขณะเล่านิทาน
จากนั้นก็ให้เด็กทำป้ายข้อความ บอกไม่ให้คนทิ้งขยะ ในหน่วยศิลปะสร้างสรรค์
กลุ่มที่ 9 สอนเรื่อง การปลูกมะพร้าว
หน่วย Coconut
ขั้นนำ >>เพลง นิทาน ภาพต่างๆเกี่ยวกับต้นมะพร้าว
ครูใช้คำถามปลายเปิด ถามเด็กๆว่าปลูกที่ไหนดี แล้วปลูกติดๆกันได้ไหม
ขั้นสอน>> ครูบอกขั้นตอนการปลูก จากนั้นครูก็ใช้เพลง ลมเพลมลมพัด ทำให้ภาพปลิวสลับกันมา เพื่อให้เด็กๆออกมาเรียงลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง จากที่ครูได้สอนหรือบอก เพื่อทบทวนความรู้ของเด็กๆ
กลุ่มที่ 10 สอนเรื่อง ทำเมนูผลไม้ผัดเนย
หน่วย Fruit
ขั้นนำ>> ร้องเพลง ตรงไหมจ้ะ เเล้วใช้คถามปลายเปิด ถามเด็กๆรู้จักผลไม้อะไรกันบ้าง
จากนั้นครูบอกอุปกรณ์ และส่วนผสมต่างๆ โดยครูให้ดูเครื่องปรุง แล้วให้เด็กสังเกต
ขั้นสอน>> ครูสาธิตวิธีการทำ แล้วให้เด็กๆสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อใส่เนยลงเตา เนยละลาย เพราะถูกความร้อน ผลไม้นิ่มขึ้น เพราะความร้อน ครูบอกเด็กหรือถามเด็กจากที่เด็กได้สังเกต
- การใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์
- การเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์เดิม
- ทักษะทางวิทยาศาสตร์ การสังเกต
- ทักษะทางคณิตศาสตร์ การนับจำนวน การเปรียบเทียบ การจำเเนก
- การนำเสนอกิจกรรมการสอนเสริมประสบการณ์สอนเสร็จ อาจารย์จะให้คำเเนะนำเพิ่มเติม
Application
- สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้ตรงตามเเผนอย่างถูกต้อง
- การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่หลากหลายและสามารถบรูณาการกับวิชาอื่นๆได้
- การสอนเด็กทำอาหาร ครูต้องดูเเลความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด ต้องระมัดระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก เช่น เตาที่ทำอาหารควรอยู่ห่างจากตัวเด็ก เเละบอกเด็กถึงอันตรายจากอุปกรณ์ต่างๆในเรื่องของการใช้อย่างถูกวิธี
- การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กในเเต่ละหน่วยอย่างเหมาะสม
- การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยนำเทคนิควิธีการสอน และคำเเนะนำของอาจารย์ไปปรับใช้ในการฝึกสอนในอนาคตได้
Evaluation
- การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทั้ง10กลุ่มที่ได้ออกมาสอนให้เพื่อนดู เเละจะนำความรู้ดีๆที่เพื่อนและอาจารย์เเนะนำเกี่ยวกับเเผนที่ถูกต้องไปในการฝึกสอน โดยจดบันทึกเทคนิควิธีการสอน ทั้งเนื้อหา เพลง คำคล้องจอง เป็นต้น
- ประเมินเพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายถูกระเบียบ เพื่อนๆตั้งใจฟัง และสนใจสื่อการสอนเสริมประสบการณ์ที่เพื่อนตัวเเทนได้ออกมานำเสนอ ทุกคนในห้องเรียนสนุสนานากในการร่วมกิจกรรมการทำโกทายากิ และผลไม้ผัดเนย ซึ่งได้ทั้งความรู้และความอร่อยอย่างมึความสุข
- ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำเเนะนำและวิธีการสอนที่เป็นทางที่นักศึกษาสามารถนำไปฝึกสอนหรือใช้ในอนาคตได้ และอาจารย์ยังใช้คำถาม เพื่อกระตึ้นให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิดหาคำตอบ และเเนะวิธีการอย่างหลากหลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น