เรื่อง การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย นางสายทิพย์ ศรีแก้วทุม
ความสำคัญของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ ซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปถึงวิธีการที่จะส่งผลต่อการพัฒนาการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย และจะเป็นเเนวทางใหม่สำหรับครูและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ที่จะนำไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ
สมมติฐานในการศึกษาค้นคว้า
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ มีการคิดอย่างมีเหตุผลเเตกต่างกัน
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.
เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียนชาย - หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2541 โรเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์
2.
การคิดอย่างมีเหตุผล หมายถึง กระบวนการรับรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆของเด็กปฐมวัย โดยใช้หลักการข้อเท็จจริง รวมทั้งประสบการณ์มาใช้เป็นข้อมูล ในการห่คำตอบ ซึ่งวัดได้จากเเบบทดสอบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยการคิดอย่างมีเหตุผล 5 ด้าน คือ
2.1. การจำเเนก
2.2. การจัดประเภท
2.3. การอุปมาอุปมัย
2.4. อนุกรม
2.5. การสรุปความ
3.
กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ หมายถึง กิจกรรมศิลปะประจำวันที่กำหนดช่วงเวลา กิจกรรมสร้างสรรค์ ตามเเผนการจัดประสบการณ์ ที่ประกอบด้วย การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ฉีก ตัด ปะ และประดิษฐ์วัสดุต่างๆ ในการวิจัยครั้งนี้ จำเเนกเป็น 2 ลักษณะ คือ
3.1. กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เเบบปกติ
3.2. กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ที่เด็กปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้
>> รับรู้ประเด็นปัญหา
>> ทดลองปฏิบัติ
>> ตอบคำถาม
>> สรุปความรู้
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี อยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์ อำเภอภูผาม่าน จังหวัด ขอนเเก่น
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2541 โดยการสุ่มอย่างเจาะจง จำนวน 30 คน แล้วสุ่มอีกกลุ่มหนึ่ง โดยจับสลากรายชื่อนักเรียนเเบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน
ตัวเเปรที่ศึกษา
กิจกกรมศิลปสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งเเบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
>> กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
>> กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ
การคิดอย่างมีเหตุผล
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
1.1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1.2) แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ
2. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล จำนวน 50 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ชุด ได้เเก่ 1) แบบทดสอบด้านการจำเเนก 2)การจัดประเภท 3)อุปมาอุปมัย 4)อนุกรม 5) แบบทดสอบสรุปความ
ทั้ง 4 ชุดนี้เป็นแบบทดสอบที่เป็นรูปภาพเหมือนจริงและรูปทรงเรขาคณิต และการสรุปความเป็นเเบบทดสอบที่เป็นภาษา
วิธีการดำเนินการทดลอง
1. ทำความคุ้นเคยกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างรวมระยะเวลา 1 สัปดาห์
2. ทำการทดลองก่อนทดลองกับเด็กปฐมวัยด้วยเเบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล 5 ด้าน ด้านละ 10 ข้อ รวม 50 ข้อ
3. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองกับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งกลุ่มการทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยเเต่ละกลุ่มทำกิจกรรมทุกวัน วันละ 20 นาที เป็นเวลา 8 สปดาห์ๆละ 5 วัน รวม 40 ครั้ง
4. เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล ชุดเดียวกับการทดสอบก่อนทำการทดลอง
การวิเคาระห์ข้อมูล
1. สถิติพื้นฐาน
1.1 ค่าเฉลี่ยของคะเเนนความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล
1.2 ความแปรปรวนของคะเเนนความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล
2.
สถิติที่ทดสอบสมมติฐาน
2.1 เปรียบเทียบความเเตกต่างของคะเเนนเฉลี่ยความสามารถการคิดอย่างมีเหตุก่อนทดลองและหลังทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
2.2 เปรียบเทียบความเเตกต่างของคะเเนนเฉลี่ยความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลระหว่าง 2 กลุ่
สรุปผลการศึกษค้นคว้า
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับเเบบปกติหลังการทดลองมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลเเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีคะเเนนการคิดอย่างมีเหตุผลสูงกว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ
ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ชื่อกิจกรรม : เเป้งปั้นเเสนสนุก
จุดมุ่งหมาย
1. เด็กสามารถบอกลักษณะของเเป้งก่อนและหลังนวดเป็นแป้งโดว์ได้
2. เด็กสามารถจัดประเภทผลงานที่ปั้นออกเป็นหมวดมู่ได้
3. เด็กสรุปผลเกี่ยวกับเเป้งโดว์ที่นวดและนำมาปั้นได้อย่างมีเหตุผล
เนื้อหา
>>การทำเเป้งโดว์ และนำมาปั้นเป็นรูปต่างๆ
อุปกรณ์
>>แป้งสาลี เกลือบ่น น้ำ น้ำมันพืช สีผสมอาหาร กะละมังใบเล็กสำหรับนวดแป้ง ผ้าเช็ดมือ
การดำเนินกิจกรรม
กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เเบบปกติ
ขั้นที่1 ขั้นนำ
ครู : เเนะนำกิจกรรมและอุปกรณ์ อธิบาย วิธีทำ วิธีใช้วัสดุ พร้อมใช้คำถาม กระตุ้นให้เด็กคิดและสนใจกิจกรรม " วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำเเป้งโดว์ ทราบไหมคะว่าทำอย่างไร " ( ครูอธิบายวิธีและสาธิตนวดเเป้งจนเสร็จ นำไปให้เด็กปั้น)
ขั้นที่2 ปฏิบัติ
เด็ก: ลงมือทำกิจกรรมอย่างอิสระ
ครู : คอยเเนะนำให้ความช่วยเหลือ เมื่อเด็กต้องการ
ขั้นที่3 เล่าผลงาน
เด็ก: เล่าผลงานและเเสดงความคิดเห็น
ขั้นที่4 เเสดงผลงาน
ครูและเด็ก : นำผลงานจัดเเสดงหมุนเวียนให้ทั่วถึงทุกคน
กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เเบบใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นที่1 รับรู้ประเด็นปัญหา
ครู : เเนะนำกิจกรรมและอุปกรณ์ พร้อมใช้ คำถามกระตุ้นให้เด็กเกิดปัญหา " ทำอย่างไรเเป้งที่เตรียมมาจึงจะนำมาปั้นเป็นรูปตามที่เด็กๆต้องการได้ค่ะ"
ขั้นที่2 ทดลองปฏิบัติ
โดยเด็กพิจารณาปัญหา เลือกวิธีการเเก้ปัญหา และลงมือทำกิจกรรมเพื่อเเก้ปัญหา เด็กลงมือทำกิจกรรมอย่างอิสระ
ครู : คอยเเนะนำให้ความช่วยเหลือ เมื่อเด็กต้องการ
ขั้นที3 ตอบคำถาม
ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดหาเหตุผล จากกระบวนการทำกิจกรรม ดังนี้
(1) ทำอย่างไรเเป้งที่เตรียมมาจึงจะนำมาปั้นเป็นรูปต่างๆได้
(2) เเป้งก่อนนวดและหลังนวดต่างกันอย่างไร
(3) อะไรที่ทำให้แป้งติดกันเป็นก้อนได้
(4) ถ้าเติมน้ำมากๆ แป้งจะเป็นอย่างไร
(5) เด็กนำแป้งที่นวดแล้วมาปั้นเป็นรูปอะไรบ้าง รูปที่ปั้นอันไหนบ้างเป็นพวกเดียวกัน
ขั้นที่ 4 สรุป
เด็ก : แป้งสาลีก่อนเติมน้ำจะเป็นฝุ่นเมื่อเติมน้ำเเล้วนวดจะจับกันเป็นก้อน และสามารถนำมาปั้นเป็นรูปต่างๆได้